Last updated: 28 ส.ค. 2567 | 727 จำนวนผู้เข้าชม |
สำหรับคนทำขนม การเลือกใช้วานิลลาในท้องตลาดมีอยู่หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ วานิลลาสกัด (Pure Vanilla Extract) วานิลลาเพส (Vanilla Paste) หรือฝักวานิลลา (Vanilla Pod) นอกจากนั้น ก็ยังมีน้ำตาลที่ผสมเมล็ดวานิลลา หรือมีกลิ่นหอมของวานิลลา (Vanilla Sugar) หรือน้ำเชื่อมกลิ่นวานิลลา (Vanilla Syrup) และอีกหลากหลายรูปแบบ ในครั้งนี้ เราจะพูดถึงทางเลือกหลักๆ ก็แล้วกัน
อย่างที่รู้กัน วานิลลาเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำขนม ไม่ว่าจะเป็นขนมรสวานิลลาโดยตรง หรือรสชาติอื่นๆ ที่มีวานิลลาช่วยผลักดันรสและกลิ่นให้โดดเด่นมากขึ้น
รูปแบบของวานิลลาที่นิยมที่สุด คือ
วานิลลาสกัด (Pure Vanilla Extract) เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย ใช้ง่าย ควบคุมมาตราฐานได้ และราคาคุณภาพสมเหตุสมผล วานิลลาสกัดเกิดจากการสกัดกลิ่นและรสของฝักวานิลลาโดยใช้ส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และน้ำ นอกจากแบบสกัด ก็ยังมีแบบสังเคราะห์กลิ่น ซึ่งอาจจะมีวานิลลาสกัดแท้อยู่บ้าง แต่ถ้าเทียบกัน คุณภาพและกลิ่นหอมก็ด้อยลงตามราคา
ฝักวานิลลา (Vanilla Bean)
เป็นอีกรูปแบบคุณภาพที่ให้ผลที่ดีมาก ในขณะที่ราคาก็สูงตาม ฝักวานิลลามีลักษณะสีน้ำตาลเข้มเงา เมื่อกรีดกลางตัวฝักออก จะประกอบไปด้วยเมล็ดเล็กๆ เป็นพันๆ เมล็ดอยู่ด้านใน ฝักวานิลลาที่ดีต้องมีลักษณะที่อวบผิวเนียนเรียบไม่แห้ง ฝักวานิลลาแห้งคือฝักวานิลลาที่เก่า หรือเก็บรักษาไม่ดี เวลากรีดฝักจะหักจะแตกง่าย และกลิ่นก็จะหอมน้อยลง ข้อเสียของการใช้ฝักวานิลลา คือการควบคุมมาตรฐานได้ยาก ส่วนข้อดีอยู่ที่ลักษณะของเมล็ดวานิลลาเล็กๆ ที่กระจายอยู่ในเนื้อเค้ก ตัวซอส ตัวคัสตาร์ดต่างๆ สามารถเพิ่มค่าให้กับขนมของเราได้
วานิลลาเพส (Vanilla Paste) ดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่อยู่ระหว่างแบบสกัด และฝักวานิลลา มีความเข้มข้น และเหนียวกว่าExtract ใช้งานง่าย กลิ่นหอมละมุน ที่สำคัญมีเมล็ดวานิลลาเล็กๆ อยู่เต็มไปหมด ทำให้ขนมของเราหอมละมุนตุ้นนนน และดูมีราคาที่สูงขึ้น
เมื่อดูภาพรวม การใช้วานิลลาสกัดจึงดูเป็นทางเลือกที่สะดวก และราคาสมเหตุสมผล ในแง่ของปริมาณการใช้ วานิลลาสกัด 1 ช้อนโต๊ะให้กลิ่นหอมเทียบเท่ากับเมล็ดวานิลลาหนึ่งฝัก สำหรับวานิลลาเพส สัดส่วนจะแตกต่างกันไปตามความเข้มข้นของผู้ผลิต
2 เม.ย 2565
10 มิ.ย. 2564
29 พ.ค. 2564